วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติคณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2498-2510



ประวัติคณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  1. สภาพมหาวิทยาลัยก่อนและหลัวโอนไปสังกัดสำนักนายกมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 เพื่อผลิตบัณฑิตทางศิลป สาขาต่างๆ สังกัดกรมศิลปากรและอยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยมีอธิบดีเป็นผู้อำนวยการ และอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการกรม ในระยะ 12 ปีแรกได้มีการเปิดสอนจิตรกรรมประติมากรรมเพียงคณะเดียว ต่อมาใน พ.ศ. 2498 ได้เปิดคณะต่างๆเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะ คือ มัณฑนศิลป์ โบราณคดีและสถาปัตยกรรมไทย นอกจากมหาวิทยาลัยแล้วกรมศิลปฯ ยังมีโรงเรียนอาชีวะศึกษาขั้นต้นอีกสองโรงเรียนอยู่ในสังกัด คือ โรงเรียนนาฏศิลปะและโรงเรียนศิลปะศึกษา ในด้านการบริหาร กรมศิลปฯ ไม่พร้อมที่จะดำเนินงานทางด้านบริหารเนื่องจากขาดบุคลากรทางด้านการบริหารการศึกษานอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีผลกระทบกระเทือนต่อกรมศิลปากรทำให้บุคคลชั้นนำลดจำนวนลงไปมาก จนอาจกล่าวได้ว่าในสมัยหลังกรมศิลปฯ มิได้เป็นแหล่งรวมของนักปราชญ์ราชบัณฑิตเช่นในสมัยก่อน การบริหารมหาวิทยาลัยเป็นการบริหารคละกันไปกับหน่วยราชการของกรมศิลปากรเอง ความเป็นสถาบันจึงไร้ความหมาย คณะต่างๆ ประหนึ่งเป็นแผนกเล็กๆ สำนักเลขาที่ข้าราชการกรมฯ เป็นผู้ควบคุมแต่ละคณะจึงไมมีสำนักเลขา  หรือสำนักงานคณบดีไม่มีประจำแผนก หน่วยธุรการ แม้แต่เครื่องพิมพ์ดีด โทรศัพท์ เครื่องอัดสำเนา หรืออุปกรณ์การสอนบางคณะไม่มีแม้แต่ภารโรง ต้องใช้ร่วมกับส่วนกลางมีธุระอะไรก็ต้องไปอ้อนวอนให้เกองกลางช่วยเหลือคณะจะบรรจุคนเข้าไปได้ก็ได้แต่ในฐานะ “ลูกจ้าง” งบประมาณประจำปีที่ได้รับก็ต่ำมาก เช่นคณะสถาปัตยกรรมไทยในปี 2501 ได้รับเพียงปีละ 40,000 บาทเศษ ภายหลังสมนาคุณคณะบดีแล้วก็มีเงินเหลือเพียงหมื่นบาทเศษๆ สำหรับเป็นค่าจ้างอาจารย์พิเศษ กับค่าใช้จ่ายต่างๆ จิปะถะไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่าโครงสร้างมหาวิทยาลัยถูกจัดให้เป็นแบบ “เบี้ยล่าง” ไม่มี “เอกเทศ” ไม่อาจดำเนินงานอย่ามีประสิทธิภาพเช่นสถาบันอื่นๆ ก่อน พ.ศ. 2501 เคยปรากฏข่าวว่า “ผู้ใหญ่” พิจารณาจะให้ยุบมหาวิทยาลัยศิลปกากรหลายครั้งสิ่งที่ยับยั้งคือเหตุผลทาง “การเมือง” สภาพโดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยศิลปากรมีความเป็นอยู่ค่อนข้างแออัด เรียนกันในอาคารไม้ชั่วคราวและตึกเล็กๆ ซอมซ่อ 5-6 หลัง มีนักศึกษาทั้งหมดประมาณไม่เกิน 300 คน (พ.ศ. 2504) อยู่ในพื้นที่ 2.9 ไร่ พ.ศ. 2503 รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. โอนมหาวิทยาลัยไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับความช่วยเหลือในด้านงบประมาณ บุคลากร และวิชาการเรื่อยมาและมีฐานะกระเตื้องขึ้นเป็นลำดับ แต่ก็ยังช้ามาเมื่อเทียบกับสถาบันแห่งอื่นๆ เพราะสำนักนายกฯ ไม่ได้เข้าไปควบคุม ปล่อยให้กรมศิลปากรบริหารต่อไปการพัฒนามหาวิทยาลัยจึงเป็นไปอย่างเชื่องช้าไม่เป็นที่พอใจแก่นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยซึ่งได้ประท้วงอย่างรุนแรงในปลายปี 2507 สภาการศึกษาแห่งชาติซึ่งเข้าไปรับงานบริหารมหาวิทยาลัยจากสำนักนายกฯต้องเข้าไปแก้สถานการณ์ โดยแต่งตั้งอธิบดีเข้าไปบริหารแทนผู้อำนวยการ (อธิบดีกรมศิลป์) ใน พ.ศ. 2508 และแก้ไขกฏระเบียบต่างๆ ให้สามารถพัฒนามหาวิทยาลัยได้อย่างคล่องตัว นับว่ามหาวิทยาลัยศิลปากรได้แยกตัวออกจากกรมศิลปากรอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

1.1      ประวัติการสอนสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยสังเขป ( พ.ศ. 2498 )
คณะสถาปัตยกรรมไทยเป็นหนึ่งในสี่คณะของมหาวิทยาลัยศิลปากรเริ่มเปิดทำการสอนเมื่อเดือนมิถุนายน 2498 มีหน้าที่ฝึกสอนนักศึกษาให้มีความรู้ในวิชาชีพการช่างสถาปัตยกรรม


ข) ยุคสถาปัตยกรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2507 )
ได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณและมีความเป็นอยู่ทัดเทียมกับสถาบันอื่นๆ และมีแนวการสอนเป็นแบบสากล
ข.1 ) สมัยเปลี่ยนแปลง ศ.สมภพ ภิรมย์ เป็นคณบดี ( พ.ศ. 2507-2515) ตอนแรกเป็นการเรียนการสอนแบบสถาปัตยกรรมไทยโดยอนุโลม ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ได้มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ หลายประการ เช่น กฎระเบียบ หลักสูตรการเรียนการสอนและเวลาเรียน เน้นการสอนไปในทางสากลนิยมแบบสถาบันการศึกษาอื่นๆ เปลี่ยนชื่อคณะเป็น “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์” ศ.แสวง สดประเสริฐ รักษาการในตำแหน่งคณบดี (พ.ศ. 2515-2516) สอนในแนวเดียวกันกับสมัยเปลี่ยนแปลงตอนหลัง
ข.2) สมัยขยายการศึกษา ศ.ม.ร.ว.ทองใหญ่ ทองใหญ๋ เป้นคณยดี (พ.ศ. 2516-2520) และ อ.วรรณะ มณี เป็นคณบดี (พ.ศ. 2520-2523) สอนตามแนวสถาปัตยกรรมสาสตร์แต่มีการเพิ่มวิชาเลือก (พื้นฐาน) หลายวิชา และได้เปิดสอนวิชาประกาศนียบัตรชั้นสูงสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย และวิชาออกแบบชุมชนและผังเมืองระดับปริญญาโท อย่างเป็นเอกเทศต่อไป
ข.3) สมัย รศ. อรสิริ ปาณินท์ เป็นคณบดี

สมัยปฏิรูปและเร่งพัฒนา
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะสถาปัตยกรรมไทยอาจแบ่งออกเป็นสองประการคือ

งานประจำ คืองานที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย และระเบียบข้าราชการ เช่นดูแลอาคารสถานที่ ควบคุมบริหารอาจารย์ข้าราชการนักศึกษาให้อยู่ในระเบียบวินัยอันดี ฝึกฝนอบรมนักศึกษาในวิชาชีพสถาปัตยกรรม ให้มีความรู้ตามหลักสูตรแนวการสอนของคณะ ปรับปรุงส่งเสริมให้คณะสถาปัตยกรรมไทยเป็นสถาบันการเรียนของชาติ โดยการขยายการศึกษา กำหนดหลักสูตรอาจารย์ผู้สอน จัดหาอาคารสถานที่ ตั้งหน่วยธุรการเพ่อส่งเสริมกิจการของคณะ ฯลฯ

งานพิเศษ คืองานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษต่างหาก เช่นปฏิบัติงานบ้างอย่างเป้นครั้งคราว หรืองานออกแบบเขียนแบบศิลปกรรม การวางแผนพัฒนา การวางโครงการก่อสร้างสำหรับกรมและมหาวิทยาลัยศิลปากร แม้ว่าทางคณะจะมีอาจารย์ที่เพิ่งจบมาเป็นจำนวนน้อย ก็พิจารณาเห็นสมควรที่จะรับงานเหล่านี้ โดยเปิดสำนักสถาปนิกทำการออกแบบก่อสร้างให้แก่คณะต่าง ๆ และมหาวิทยาลัย เพื่อฝึกฝนอาจารย์นักศึกษาให้มีความรู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ และเพื่อประโยชน์ของนักศึกษาชั้นสูงบางคน จะได้ฝึกหัดทำงานหรือไปดูงานก่อสร้างอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนของคณะ

2.1) งานประจำ การปรับปรุงคณะให้เป็นสถาบันการสอนวิชาชีพ
เมื่อศาสตรจารย์พระพรหมพิจิตรขอลาอกจากตำแหน่งคณะบดี คณะสถาปัตยกรรมไทย ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ติดต่อเชิญอาจารย์จากสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัยให้มาดำรงตำแหน่งรักาการคณะบดี และปรับปรุงคณะให้ก้าวหน้าทันสมัยยิ่งขึ้น ยังผลให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ในด้านหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ข้าราชการ พนักงาน และอาคารสถานที่ตลอดจนระเบียบการต่างๆ ให้เข้มแข็งทันสมัยยิ่งขึ้น สมัยนี้เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2501- ต้นปี 2507 กล่าวได้ว่าเป็นสมัยแห่งการปฏิรูปและเร่งพัฒนา เป็นวาระแห่งการบุกเบิกเร่งรัดเสริมสร้างความเจริญให้แก่คณะสถาปัตยกรรมไทยในด้านการศึกษา มีนโยบายส่งเสริมและประยุกต์ศิลปสถาปัตกรรมแห่งชาติ ควบคู่กับการสอนในแนวเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขยายการเรียนถึงขั้นปริญญา หลักสูตร 5 ปี จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น 26 ถึง 150 คน เรียนสัปดาห์ละ 6 วันแบบหน่วยกิตชั่วโมง (ซีเมสเตอร์) ใช้เวลาร่วม 6 ปี ปฏิรูปและพัฒนาคณะฯจนเข้าขั้นมาตรฐานสากล

2.2) ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรและการสอนสถาปัตยกรรม
ทางคณะได้กำหนดนโยบายการเรียนเป็นแบบชาตินิยม สอนให้นักศึกษาซาบซึ้งในศิลปะสถาปัตยกรรมไทย และมรดกของชาติแต่ดั้งเดิม ควบคู่กันไปกับการศึกษาเทคโนโลยี วิทยาการสถาปัตยกรรมแบบใหม่ อันเป็นผลิตผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมแห่งโลก เพื่อประยุกต์สร้างสรรค์สถาปัตยกกรมใหม่แห่งชาติ ให้สอดคล้องกับความต้องการแห่งยุคปัจจุบัน และแสดงออกซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรมและภูมิธรรมประจำชาติ ให้สอดคล้องกับความต้องการแห่งยุคปัจจุบัน และสอดคล้องซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรมและภูมิธรรมประจำชาติที่มีมาแต่โบราณกาล
             
  1. มาตรฐานการศึกษา นโยบายการสอนต้องการให้นักศึกษามีความรู้ในด้านทฤษฎีและปฏิบัติในหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วจักได้เน้นไปในทางปฏิบัติงานอย่างสถาปนิกทั่วไปกระทำอยู่เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถออกแบบอาคารที่ใช้เป็นแบบก่อสร้างได้ทันทีที่สำเร็จการศึกษา (Practical Training) หลักสูตรขั้นอนุปริญญาใช้เวลา 3 ปี จักได้อบรมให้มีความรู้ความสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมโบราณได้เป็นอย่างดี และออกแบบไทยสมัยใหม่ได้พอสมควร ส่วนในขั้นปริญญาหลักสูตร 5 ปีนั้นให้มีความรู้ความสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมไทยโบราณและสมัยใหม่ได้ดี จนอาจสนองความต้องการของประเทศชาติทางสถาปัตยกรรมได้ครบถ้วน


  1. สถาปัตยกรรมแห่งชาติที่เป็นแบบวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมไทย ให้นักศึกษามีความเข้าใจซาบซึ้งในความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติแต่โบราณ ให้มีการศึกษา วิจัย ค้นคว้าสถาปัตยกรรมไทยเดิมแบบต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นรากฐานของสถาปัตยกรรมไทย ทั้งนี้เพื่อจะได้นำเอาหลักการ ลักษณะ และแนวความคิดที่ดีงามมาสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ตามความต้องการของยุคสมัยปัจจุบัน ในแนวทางซึ่งแสดงออกซึ่งเป็นลักษณะประจำชาติ, วัฒนธรรมอันดีงาม และหลักวิชาการช่างแบบปัจจุบัน
3.  การศึกษาโดยกว้าง ให้นักศึกษาได้ศึกษาโดยกว้างขวางถึงวิชาการที่มีความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรม เช่น วัฒนธรรม, ผังเมือง, เทคนิคการก่อสร้างแผนใหม่, ความเป็นอยู่ปัจจุบันทั้งให้สามารถค้นคว้าเลือกเอาเทคนิค, วิชาการที่ดีของชาวต่างประเทศมาใช้ ทั้งนี้เพื่อจักมาช่วยในการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ    การศึกษาจักได้สอนให้สามารถในการออกแบบก่อสร้างตามความต้องการของประเทศชาติ สามารถออกแบบได้ทั้งแบบราคาถูก ราคาปานกลาง และราคาแพง โดยคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจ, สังคม และการปกครอง

  1. หน้าที่ของสถาปนิกกับงานช่างแขนงอื่น ให้นักศึกษาเข้าใจหน้าที่ของสถาปนิกปัจจุบัน ที่ต้องร่วมมือประสานงานกับช่างแขนงอื่นๆ เช่น ช่างไฟฟ้า ประปา นายช่างวิศวกร ช่างก่อสร้าง นายช่างผังเมืองอุตสาหกร ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อจักได้ออกแบบอาคารให้มีความสมบูรณ์ตามความต้องการปัจจุบันและอนาคต

  1. ความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับพื้นที่ ให้นักศึกษาเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับพื้นที่เมื่อออกแบบอาคารก็คำนึงถึงผังพื้นที่สามารถออกแบบอาคารเดี่ยว หรือกลุ่มอาคาร ในพื้นที่ที่กำหนดตามหลักวิชาการการวางผังพื้นที่

  1. การออกแบบตัวอาคาร ให้เข้าใจในหลักการของการออกแบบอาคาร โดยการใช้ที่ว่างภายในทางเดิน ให้เกิดประโยชน์ตามความจำเป็น ตลอดจนการเจาะช่องประตู หน้าต่าง การเลือกรูปร่างทรวดทรง โครงสร้าง วัสดุก่อสร้างที่ประหยัด เหมาะสมตามประโยชน์ใช้สอย ให้อาคารมีรูปร่างลักษณะที่สวยงาม เป็นการแสดงออกซึ่งศิลปกรรมและวัฒนธรรมแห่งชาติตามขอบเขตที่เหมาะสม

  1. การใช้เวลาหยุดเรียนให้เป็นประโยชน์ ระหว่างหยุดเรียนฤดูร้อน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่3  จะได้ทำการฝึกเขียนแบบจำลองอาคารตัวอย่าง (Measured Drawing) และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ไปทำการฝึกงานสถาปัตยกรรม (Architectural Practice) ทั้งจะได้พยายามเปิดการเรียน

คณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2498    คณะสถาปัตยกรรมไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาการศึกษาของคระอยู่หลายครั้งจนมาเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญในประวัติของคณะฯ คือการปฏิรูปและพัฒนาในระหว่างปี พ.ศ.2501-2507 เพื่อขยายการศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาสากล จนเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตสถาปนิกระดับปริญญาที่ได้มาตรฐานสถาบันการศึกษาขั้นสูงของชาติ                
ในขณะที่สถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมแห่งอื่นขณะนั้นมีพร้อมทั้งงบประมาณและสถานที่ คณะสถาปัตยกรรมไทยแรกตั้งขาดแคลนทุกอย่าง จากนักศึกษารุ่นแรกเพียง 9 คน ในปี พ.ศ. 2498 มาเป็น 26 คน ในปี พ.ศ.2501 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มปฏิรูปการศึกษา คณะสถาปัตยกรรมไทยมีแต่อาคารไม้ชั้นเดียวเพียง 1 หลังเป็นที่เรียน แม้จะขาดแคลนทั้งงบประมาณและสถานที่เป็นอย่างมาก ด้วยความเสียสละอย่างสูงและการอุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของการศึกษาสถาปัตยกรรมแห่งชาติอย่างจริงใจของคณาจารย์ ได้ฝ่าอุปสรรคคนานับประนับประการที่เกิดขึ้นขณะนั้นร่วมกับนักศึกษาพัฒนาคณะฯ ในทุกทาง จนเป็นสถาบันที่ได้มาตรฐานสากลในระยะเวลาเพียง 6 ปี หลังจากการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2501
แนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเรียนในคณะสถาปัตยกรรมไทยเป็นแบบซีเมสเตอร์ Semester การศึกษาในระยะต้นจะได้รับการอบนมสั่งสอนให้ซาบซึ้งในศิลป วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมไทย ความเป็นมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน หลายยุคหลายสมัยทั่วไปทั้งพระราชอาณาจักร ตลอดจนอิทธิพลของชาติข้างเคียง เช่น จีน อินเดีย เขมร มลายู ไทยเดิม ฯลฯ ที่มีต่อศิลปกรรมและวัฒนธรรมของชาติไทย จักได้นำเอาวิทยาศาสตร์วิชาการแผนใหม่มาวิจัยศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เข้าใจในหลักเหตุผล ที่นำมาซึ่งรูปร่าง ลักษณะการจัดแผนผัง วิธีการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ความงาน (Aesthetic) ฯลฯ ที่วิวัฒนาการมาเป็นสถาปัตยกรรมไทย ทั้งนี้จะได้พยายามเน้นในสิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์หรือลักษณะประจำชาติ (National Character) ของสถาปัตยกรรมไทย ในขั้นปลายของการศึกษาจักได้นำเอาผลการวิจัยค้นคว้ามาประกอบหลักเทคนิควิทยาการและวิทยาศาสตร์แผนใหม่ มาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทยยุคปัจจุบันให้เป็นวิวัฒนาการ ต่อเนื่องกับศิลปะสถาปัตยกรรมไทยเดิม ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบที่เหมาะสม สามารถสนองความต้องการของประเทศชาติในปัจจุบันและอนาคตตามหลักเศรษฐกิจ สังคมและการปกครอง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น